Home PR. News อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม“โคก หนอง นา พช.” อำเภอคลองหลวง ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต

อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม“โคก หนอง นา พช.” อำเภอคลองหลวง ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต

0
อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม“โคก หนอง นา พช.” อำเภอคลองหลวง ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต

เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2564นายสุทธิพงษ์  จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมนายกิติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ตรวจติดตามให้กำลังใจ ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล แปลงระดับก้าวหน้า ขนาดพื้นที่ 10 ไร่ ของนายอดุลย์ วิเชียรชัย เลขที่ 107 หมู่ที่ 14 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีนายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายพงษ์เทพ รุ่งเรือง พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี นายนิติชัย วิริยานนท์ นายอำเภอคลองหลวง ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ขับเคลื่อนโครงการโคก-หนอง-นา โมเดล โดยการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบโคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

  1. โคก พื้นที่สูง– ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ– ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย– ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
  2. หนอง  หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ– ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)– ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้– ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง– พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
  3. นา พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน– ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

อย่างไรก็ตาม กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้มีการขับเคลื่อนโครงการ ตามแนวทาง “โคก หนอง นา” พช. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  เป็นการสร้าง ความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์ สู้กับปัญหาภัยแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้กลับมา อุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้อย่างสมดุล

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” เป็นโครงการที่น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ในรูปแบบ โคก หนอง นา การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จะช่วยให้พี่น้องประชาชนสามารถฟื้นตัว และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เมื่อเทียบกับการลงทุนในด้านอื่นๆ ถือว่ามีความเสี่ยงที่น้อย แต่กลับได้ผลประโยชน์อย่างคุ้มค่าและทั่วถึงตามหลักทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นหลักประกันในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง ซึ่งรัฐบาลก็ยังให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนโครงการฯ ดังกล่าว จากการได้รับอนุมัติงบประมาณกว่า 4,700 ล้านบาท ภายใต้งบเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ยกระดับขีดความสามารถของชุมชนให้พึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ในกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” จะช่วยให้พี่น้องประชาชนสามารถฟื้นตัว และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เมื่อเทียบกับการลงทุนในด้านอื่นๆ ถือว่ามีความเสี่ยงที่น้อย แต่กลับได้ผลประโยชน์อย่างคุ้มค่าและทั่วถึงตามหลักทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นหลักประกันในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง พัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ยกระดับขีดความสามารถของชุมชนให้พึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน