Home PR. News อธิบดี พช. เยือน จ.อุบลฯ ตรวจเยี่ยมศูนย์สารภีท่าช้าง พร้อมหนุน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ อาณาจักร “โคก หนอง นา พช.” และทั่วภูมิภาค

อธิบดี พช. เยือน จ.อุบลฯ ตรวจเยี่ยมศูนย์สารภีท่าช้าง พร้อมหนุน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ อาณาจักร “โคก หนอง นา พช.” และทั่วภูมิภาค

0
อธิบดี พช. เยือน จ.อุบลฯ ตรวจเยี่ยมศูนย์สารภีท่าช้าง พร้อมหนุน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ อาณาจักร “โคก หนอง นา พช.” และทั่วภูมิภาค

วันที่ 15 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 น. นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นางทรงลักษณ์ วรภัย ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสารภีท่าช้าง และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” แปลงศูนย์เรียนรู้ระดับตำบล (Community Lab Model for quality of Life : CLM) พื้นที่ 15 ไร่ ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสารภีท่าช้าง บ้านใหม่สารภี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

โดยมี นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นายพนม สิงห์สาย พัฒนาการจังหวัดยโสธร นายวิลาศ บุญโต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี นายธนัท ชายทวีป นายอำเภอสว่างวีระวงศ์ นางรัชดาวรรณ คำเอี่ยม พัฒนาการอำเภอสว่างวีระวงศ์ ตัวแทนพัฒนาการอำเภอทั้ง 5 โซนอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอใกล้เคียง นายพุฒทา บัญกาที รองนายกเทศมนตรีตำบลท่าช้าง นายพาน พิทัศน์ กำนันตำบลท่าช้าง นางหนูกร โม่คำ ผู้ใหญ่บ้านใหม่สารภี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) อำเภอสว่างวีระวงศ์ คณะกรรมการและสมาชิกศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสารภีท่าช้าง ร่วมให้การต้อนรับอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและคณะฯ พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงาน

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

โอกาสนี้ นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และคณะผู้ติดตามฯ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (CLM) บริเวณฐานเรียนรู้คนรักษ์แม่โพสพ พร้อมชื่นชมการดำเนินงาน เนื่องจากว่าเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบ ของกรมการพัฒนาชุมชนเอง ประกอบกับ จังหวัดอุบลราชธานี นั้น ได้รับงบประมาณดำเนินโครงการฯ มากที่สุดในประเทศไทย จนได้รับสมญานาม ว่าเป็น “อาณาจักร โคก หนอง นา” จึงควรเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ “โคก หนอง นา พช.” ในพื้นที่หรือภูมิภาคแถบนี้ด้วย จากนั้นท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและคณะฯ ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณ แปลง “โคก หนอง นา พช.” ศูนย์สารภีท่าช้าง โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนได้ลงมือปลูกต้นมะขามยักษ์จำนวน 2 ต้น ก่อนถ่ายภาพร่วมกันบริเวณจุดเช็คอินของศูนย์ฯ

จากนั้น อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสารภีท่าช้าง และการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อำเภอสว่างวีระวงศ์ จากนางรัชดาวรรณ คำเอี่ยม พัฒนาการอำเภอสว่างวีระวงศ์ ณ ห้องประชุมศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสารภีท่าช้าง

สำหรับศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน (ศูนย์สารภีท่าช้าง) ตั้งอยู่ที่ บ้านใหม่สารภี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี จัดตั้งเมื่อปี 2518 โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับบริจาคที่ดินทั้งหมด 50 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารฝึกอบรมและมีเจ้าหน้าที่ดูแล ตั้งอยู่ในเขตบ้านใหม่สารภี หมู่ที่ 3 ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี และเมื่อปี 2556 สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน ได้เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสว่างวีระวงศ์ และได้มอบหมายให้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ แผนผังการใช้ศูนย์สารภี และจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและระเบียบข้อบังคับของศูนย์ฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน

ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชน มีแนวทางในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน ให้เป็นต้นแบบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์พัฒนาศูนย์ฯ ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กรมการพัฒนาชุมชนได้มีนโยบายให้ศูนย์ฯ ดำเนินการปรับพื้นที่เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน” และมีกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อให้เป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่น

ปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน (ศูนย์สารภีท่าช้าง) นอกจากจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน” แล้ว ยังมีฐานเรียนรู้จำนวน 20 ฐาน ประกอบด้วย ฐานเรียนรู้เดิม 10 ฐาน ได้แก่ ฐานเรียนรู้เพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกผักสวนครัว พุทราสามรส นวดแผนไทย การปลูกข้าว เลี้ยงปลาหมอไทย เลี้ยงไก่ ทอเสื่อ ปลูกดาวเรือง ปลูกแก้วมังกร และฐานเรียนรู้ “โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน” ที่มีการอบรมในศูนย์ฯ จำนวน 10 ฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้คนรักษ์แม่ธรณี คนเอาถ่าน คนมีน้ำยา คนมีไฟ คนรักษ์สุขภาพ คนหัวเห็ด คนรักษ์แม่โพสพ คนรักษ์น้ำ คนรักษ์ป่า คนรักษ์ดิน ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเป็นแปลงสาธิตในพื้นที่เพิ่มเติม ได้แก่ แปลงมัลเบอรี่ แปลงผักกูด โรงเลี้ยงแพะ สวนกล้วย ธนาคารเมล็ดพันธุ์ผัก แปลงเกษตรพันธุกรรมพืชสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นต้น

#WorldSoilDay

GlobalSoilPartnership

UNFAO

CDD

SEPtoSDGs

SDGforAll@Kmitl

กรมการพัฒนาชุมชน

อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสว่างวีระวงศ์ ..ภาพข่าว/รายงาน