หัวเว่ย เข้าร่วมงาน 2021 PV EXPO TOKYO พร้อมขนทัพโซลูชั่นจากธุรกิจพลังงานดิจิทัลมาจัดแสดงเป็นครั้งแรกแบบครบครัน ครอบคลุม 5 กลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ Smart PV, Data Center Energy, iSitePower, Modular Power และ mPower
โลกที่ชาญฉลาดและเชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ในทุกแง่มุมของแนวคิดนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม แหล่งพลังงานสีเขียวกำลังเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย กระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องรับมือกับความท้าทายจากการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า รวมไปถึงปริมาณการสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก และการใช้พลังงานในระดับสูง กลุ่มผลิตภัณฑ์ Digital Power ของหัวเว่ยคว้าโอกาสในการพัฒนาจากอุปกรณ์จ่ายไฟแบบดั้งเดิมไปสู่อินเทอร์เน็ตพลังงาน โดยมุ่งเน้นที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ควบคู่กับการนำเสนอโซลูชั่นและบริการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ซึ่งรวมถึงโซลูชันสำหรับการสื่อสาร, Data Center, Smart PV, mPower และ Modular Power นับตั้งแต่แยกตัวออกมาเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งของหัวเว่ยในปี 2551 ธุรกิจพลังงานดิจิทัลได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่มั่นคง โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 29% ด้วยผลผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรมและส่วนแบ่งในตลาดศูนย์ข้อมูลแยกส่วนแบบสำเร็จรูป (prefabricated modular Data Center), UPS แบบแยกส่วน และ Smart PV หัวเว่ยประสบความสำเร็จในตลาดญี่ปุ่นอย่างมากเมื่อปีที่แล้ว ด้วยการเปิดตัวโซลูชั่นพลังงานดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าและคู่ค้าชาวญี่ปุ่นได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำของหัวเว่ยในภาคส่วนนี้ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
“เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้นำโซลูชันพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ยมาจัดแสดงอย่างเต็มรูปแบบในงาน PV Expo โตเกียว” จาง เหว่ยเหว่ย ผู้จัดการทั่วไป หน่วยธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ย ประเทศญี่ปุ่น กล่าว “ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่เราให้ความสำคัญอย่างมากมาโดยตลอด นอกจากนี้ ตลาดโซลาร์เซลล์ก็เติบโตขึ้นอย่างมากในญี่ปุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งหัวเว่ยมุ่งหวังที่จะได้มีส่วนร่วมในตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง โดยภายในงานนี้ นอกจากผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของเราที่ใช้กับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่แบบติดตั้งบนพื้นดิน ตลอดจนการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและในเชิงพาณิชย์แล้ว เรายังจัดแสดงกลุ่มผลิตภัณฑ์ล่าสุดสำหรับการใช้งานในที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยรุกเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์กักเก็บพลังงานสำหรับที่อยู่อาศัยของญี่ปุ่น โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการรับรองจาก JET และเริ่มจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ว”
พลังงานหมุนเวียนเสริมแกร่งตำแหน่งผู้นำตลาด
พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นส่วนสำคัญของอาคารสิ่งก่อสร้างในอนาคต และเซลล์แสงอาทิตย์จะกลายเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานหลัก ทั้งนี้ ด้วยอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed-in-Tariff นั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง การช่วยลูกค้าลดต้นทุนและเพิ่มรายได้จึงกลายเป็นภารกิจของหัวเว่ย เริ่มตั้งแต่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าไปจนถึง O&M (การดำเนินงานและการบำรุงรักษา) โดยหัวเว่ยปรับปรุงให้ทั้งกระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยการรวมข้อมูลดิจิทัลแบบข้ามพรมแดน อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ อีกทั้งยังช่วยให้การดำเนินงานและการบำรุงรักษาอัตโนมัตินั้นง่ายยิ่งขึ้นด้วยการทำให้เป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบทั่วโลก ตลอดจนนำเสนอบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ และด้วยการดำเนินการดังกล่าว จึงทำให้โรงไฟฟ้าสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับ O&M ที่ชาญฉลาด (การดำเนินงานและการบำรุงรักษา) จนนำไปสู่โซลูชันโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ พร้อมส่งมอบคุณค่าสูงสุดให้แก่ลูกค้าที่เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงไฟฟ้า
ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ที่ผลิตไฟฟ้าป้อนที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม (C&I) นั้นทำงานได้ดี โดยที่ความปลอดภัยของระบบเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดอันดับแรก ซึ่งหัวเว่ยก็ได้มอบความปลอดภัยขั้นสูงสุดให้แก่ลูกค้าผ่านนวัตกรรมที่รวม AI และเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย
– Active Safety: ป้องกันการเกิดอาร์กฟอลต์ (arc fault) อย่างรวดเร็ว ด้วยการปิดอินเวอร์เตอร์ภายใน 0.5 วินาที
– อุปกรณ์ที่เชื่อถือได้: ไม่มีฟิวส์และชิ้นส่วนอื่นๆ ที่พังเสียหายจากการสึกหรอ จึงลดอัตราความสูญเสียลงเหลือไม่ถึง 0.5% และเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวที่มีอุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบฟ้าแลบที่เกิดจากจรวด
– การเชื่อมต่อกริดที่เชื่อถือได้: ด้วยอัลกอริทึม AI ชั้นนำ สามารถปรับตัวให้เข้ากับกริดในทุกสภาพ จึงทำให้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องโดยระบบไม่หยุดทำงาน
ในขณะเดียวกัน อินเวอร์เตอร์ขนาด 20kw สำหรับตลาดที่พักอาศัย เริ่มมีการจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ว โดยไฟฟ้ากระแสสลับที่ออกจากอินเวอร์เตอร์ขนาด 20kw ของระบบไฟฟ้า 3 เฟส แรงดัน 200V นั้น สามารถจับคู่กับระบบ 200V ดั้งเดิมได้โดยตรงโดยไม่ต้องเปลี่ยนหม้อแปลง
ผลิตภัณฑ์กักเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัยกำลังมาแรง
ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ smart string ESS (Energy Storage System) สำหรับที่พักอาศัย ซึ่งหัวเว่ยเพิ่งเปิดตัวไปไม่นานนั้น เป็นไปตามข้อกำหนดการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติของญี่ปุ่น และสอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตคาร์บอนเป็นกลาง ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับเสียงตอบรับที่น่าพอใจในหลายประเทศของยุโรป โดยนอกจากใช้งานในบ้านแล้ว ระบบกักเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัยยังสามารถใช้ในสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน อาคารเทศบาล ศูนย์เตรียมความพร้อม และร้านค้าขนาดเล็ก เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ โดยใช้วิธีเชื่อมต่อระบบหลายตัวแบบขนาน แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานสำหรับที่พักอาศัยของหัวเว่ยมีดีไซน์แบบแยกส่วน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อใช้งานแบบขนาน โดยมีระบบการจัดการแบตเตอรี่ (BMS) รวมอยู่ในแบตเตอรี่ทุกก้อน
– เพิ่มความจุ: ไม่จำเป็นต้องชาร์จแบตเตอรี่ก่อนใส่แบตเตอรี่เข้าไปในระบบที่มีอยู่เดิม เพียงแค่เสียบปลั๊ก ก็สามารถใช้งานได้ทันทีที่แกะกล่อง
– คุณลักษณะที่เป็นที่ทราบกันดีของชุดแบตเตอรี่ คือ ส่วนประกอบของแบตเตอรี่จะเสื่อมลงในอัตราที่แตกต่างกันขณะใช้งาน (เช่น ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่) อย่างไรก็ตาม ระบบการจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ที่ติดตั้งมาในตัว จะปรับแรงดันไฟฟ้าขาออกของแบตเตอรี่แต่ละก้อนให้เป็นปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการชาร์จและการคายประจุ ขณะเดียวกันก็เพิ่มความเร็วที่ระบบแบตเตอรี่ทั้งระบบใช้ในการชาร์จและคายประจุ ฟีเจอร์นี้จะทำหน้าที่เพิ่มพลังงานให้แบตเตอรี่อีกประมาณ 25% ของที่มีอยู่ตามอายุของแบตเตอรี่
– การออกแบบโมดูลแบบขนานทำให้ระบบสามารถแยกการทำงานของแบตเตอรี่ที่ขัดข้องออกจากแบตเตอรี่ที่ทำงานเป็นปกติได้โดยอัตโนมัติ ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบแบตเตอรี่ทั้งระบบจะทำงานได้เป็นปกติอย่างต่อเนื่อง และป้องกันไม่ให้ระบบหยุดทำงาน
เมื่อช่วงปลายปี 2563 ญี่ปุ่นได้ประกาศร่างแผนการลดคาร์บอน โดยยืนยัน “การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593” และตั้งเป้าที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและการลงทุนสีเขียว การเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมพลังงานให้เป็นดิจิทัลกำลังดำเนินไปด้วยดี ในขณะที่การรวมเทคโนโลยีพลังงานกับเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าด้วยกันนั้นจะช่วยให้สามารถตรวจสอบและควบคุมการจัดการโครงสร้างพื้นฐานพลังงานอัจฉริยะได้แบบครบวงจร โดยให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น แหล่งพลังงาน “สีเขียว” ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมหลายพันแห่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครัวเรือนอีกเป็นจำนวนมากด้วย โดยเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นตัวแทนของพลังงานสีเขียวจะกลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในยุคแห่งความความเท่าเทียมของราคาพลังงาน การแลกเปลี่ยนระหว่างหัวเว่ยกับลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่งาน PV EXPO Tokyo ตอกย้ำว่าการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และการรวมระบบกักเก็บพลังงาน จะกลายเป็นจุดเติบโตที่แข็งแกร่งสำหรับพลังงานหมุนเวียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า