Home PR. News อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

0
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนางทัศนีย์ ชัยคุณแสง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน นายวัชระ ธรรมปัญญาสกุล พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายชัยวุฒิ ครุฑมาศ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ร่วมรับเสด็จฯ

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้เป็นหน่วยงานสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 โดยกำหนดพื้นที่สนองพระราชดำริ อพ.สธ. – พช. จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี นครนายก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช พิษณุโลก เพชรบุรี ลำปาง ยะลา สระบุรี อุดรธานี และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน จังหวัดชลบุรี ศูนย์สารภี (ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สารภี (ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน) จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์สารภี (ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน) จังหวัดสตูล ศูนย์สารภี (ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน) จังหวัดอุบลราชธานี และส่วนงานพัฒนาชุมชนในศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้ดำเนินการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรและประชาชนในพื้นที่ให้บริการ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ในประเทศไทย ดำเนินกิจกรรมร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ภายใต้ 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ใน 3 กรอบการดำเนินงาน คือ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก เป็นไปตามแนวทาง อพ.สธ. เพื่อนำประโยชน์สู่ประชาชนชาวไทย

ในการนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน ร่วมจัดแสดงนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กรมการพัฒนาชุมชน (อพ.สธ.-พช.) ในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ครั้งนี้ ร่วมกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจัดแสดงผลการดำเนินงาน อพ.สธ. – พช. ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่น ภายใต้แนวคิด “ย่านลิเภา พืชพื้นถิ่น ภูมิปัญญาแผ่นดิน ประโยชน์แท้แก่มหาชน” จากพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2524 เป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนชาวไทยได้รู้จักและให้ความสนใจผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก “ย่านลิเภา” เป็นจำนวนมาก ซึ่งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นรังสรรค์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากย่านลิเภา จนเข้าสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น งดงาม เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ชื่นชอบทั้งชาวไทยและต่างชาติ และจังหวัดนครศรีธรรมราชได้กลายเป็นแหล่งผลิตย่านลิเภาสำคัญ ส่งผลให้ย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชประเภทเถาวัลย์ที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติ ใต้ต้นยาง ในสวนยาง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเกิดการขาดแคลนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ต้องมีการนำเข้าจากจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหนึ่งใน 16 พื้นที่สนองพระราชดำริ อพ.สธ. – พช. ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินการปลูก รักษาและเพาะขยายพันธุ์ย่านลิเภาภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากย่านลิเภา และได้ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ภายใต้แนวคิด “ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับผลประโยชน์” โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สินบนดินจากมูลค่า “ย่านลิเภา” ให้ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ รักษา ต่อยอดสร้างประโยชน์แท้แก่มหาชนต่อไป

ขอเชิญชวนทุกท่านเยี่ยมชมบูทนิทรรศการ อพ.สธ. – พช. ได้ในงานประชุมวิชาการและจัดนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย : 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ณ บริเวณโซน C มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 19-24 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.00 น. อธิบดี พช. กล่าวทิ้งท้าย

ภาพข่าว : ศพช.นครศรีธรรมราช
ข่าว : สทอ.พช.