วิธีการที่ช่วยให้แม้แต่องค์กรแบบดั้งเดิม ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทน
จากการวางกลยุทธ์ระยะยาวของการใช้ไฮบริด มัลติคลาวด์
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี
ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์
ในแวดวงเทคโนโลยี เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าต้องขยับปรับให้เร็ว ไม่เช่นนั้นจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังแบบ
ไม่เห็นฝุ่น ซึ่งก็เป็นคำแนะนำที่ดีและสมเหตุสมผล แต่บางครั้งการถอยออกมา หยุดคิดสักนิด และเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่นก็ส่งผลดีเช่นกัน ท่ามกลางการแข่งขันกันนำคลาวด์มาใช้ทั่วโลก องค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกก็เพิ่งทำเช่นเดียวกันและทำให้องค์กรเหล่านี้มีสถานะแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปในทำนอง “ทำทีหลังดีกว่า”
เทคโนโลยีคลาวด์เป็นองค์ประกอบหลักของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน แต่มีความเข้าใจผิดที่พบบ่อยทั่วโลกคือ “คลาวด์” เท่ากับ พับลิคคลาวด์ การที่ผู้นำจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเลิกใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ และรีบเร่งตัดสินใจด้วยความคิดที่มีเพียงสองทางเลือกคือ “จะยังใช้อยู่ทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย” ได้เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น และต้องแลกกับค่าใช้จ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะถูกล็อคอยู่กับโซลูชันเดียว ปัจจุบันความกังวลเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบ กระบวนการทำงาน และค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการพิจารณาเรื่องการใช้เทคโนโลยีใหม่อีกครั้ง
ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกกลับมีความระมัดระวังในการนำคลาวด์ไปใช้งานมากกว่าในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยไม่ต้องรับภาระจากการลงทุนกับพับลิคคลาวด์ขนาดใหญ่เป็นหลัก และกำลังหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อเดินหน้าต่อไป ธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จากตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นจากผู้ใช้คลาวด์จำนวนมากที่เข้าสู่ตลาดก่อนหน้า รวมถึงมีความได้เปรียบในการเจรจาที่ดีกว่าในแง่ของราคา
ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญกับความสำเร็จในการบรรลุความสมดุลทั้งเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงาน
กลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ที่สมดุลเริ่มด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้ชัดเจน ซึ่งคือการกำหนดว่างานส่วนใดของธุรกิจจะให้บริการได้ดีที่สุดบนคลาวด์ประเภทใด พับลิค หรือ
ไพรเวทคลาวด์ และนี่คือการสร้างสภาพแวดล้อมไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ชาญฉลาดและปลอดภัย ทั้งนี้ IDC ได้อธิบายว่าไฮบริดมัลติคลาวด์คือ “กลยุทธ์การใช้โซลูชันที่ ‘ดีที่สุดของคลาวด์ทั้งสองประเภท'”และเราได้เห็นแล้วว่ากลยุทธ์มัลติคลาวด์กลายเป็น “บรรทัดฐานขององค์กร” ไปแล้ว
การใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์เป็นเรื่องไม่ยุ่งยากเลยสำหรับสตาร์ทอัพที่ไม่ได้ใช้ระบบไอทีแบบดั้งเดิม บริษัทให้คำปรึกษาเอคเซนเชอร์ มองว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังพัฒนาแอปพลิเคชันคลาวด์-เนทีฟโดย
ไม่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการคลาวด์รายใดรายหนึ่งหรือพึ่งพาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การที่องค์กรที่ใช้
ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ภายในองค์กร (on-premise) มีแอปพลิเคชันจำนวนมาก และมีเวิร์กโหลดหลายประเภทจะนำคลาวด์มาใช้นั้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น ตัวอย่างธนาคารเพื่อการลงทุนข้ามชาติของสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่งใช้แอปพลิเคชันเกือบ 3,900 แอปฯ ที่ไม่สามารถโยกย้ายไปทำงานบนคลาวด์ได้
สิ่งแรกที่องค์กรต้องทำ คือ การจัดระเบียบการใช้ไอทีทั้งด้านระบบและด้านบุคลากร เปลี่ยนความคิดจากยึดมั่นกับกระบวนการที่กำหนดไว้ ให้เป็นยึดเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก และ
รื้อระบบที่ต่างคนต่างทำ (siloes) ออกเสีย ทันทีที่ขั้นตอนพื้นฐานและกระบวนการคิดเป็นที่เป็นทางแล้วก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำสู่ความสำเร็จในระยะยาว เช่น ลดเวลาในการเปิดใช้งานการประมวลผลข้อมูล เป็นต้น
แน่นอนว่าแรงจูงใจแรก ๆ อย่างหนึ่งสำหรับธุรกิจที่ดำเนินกิจการมาอย่างยาวนาน เช่น บริการด้านการเงิน ให้หันมาใช้ไฮบริดมัลติคลาวด์ คือการต้องต่อกรกับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้องค์กรเหล่านี้ต้องการความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานจากระยะไกลได้ แต่ความเคลื่อนไหวในการดำเนินการของพวกเขามีจุดประสงค์มากกว่าการรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเท่านั้น ธุรกิจในภาคส่วนอื่น ๆ มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันนี้มากขึ้น เช่น ภาคการผลิต ภาคสาธารณสุข และบริการสาธารณะต่าง ๆ เช่น บริษัทโตโย ไซกัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทในภาคการผลิต ได้ใช้คลาวด์แพลตฟอร์มของนูทานิคซ์เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานจากระยะไกล และเพิ่มความมั่นคงด้านการสำรองข้อมูล สามารถทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ นูทานิคซ์ได้ช่วยให้ NTUC Enterprise ซึ่งเป็นกลุ่มโฮลดิ้งขององค์กรเพื่อสังคมในสิงคโปร์ทรานฟอร์มโดยการนำไฮบริดคลาวด์ไปใช้ ในประเทศนิวซีแลนด์ นูทานิคซ์ได้ทำงานกับซันคอร์ปเพื่ออัปเกรดความสามารถให้กับพนักงานผ่านเทคโนโลยีที่เป็นไฮบริดคลาวด์และพัฒนากลยุทธ์ระยะยาวด้านการมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก
องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์ยอมรับว่า รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดจะยังคงอยู่ และ
การทำงานแบบไฮบริดจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยการสร้างสมดุลระหว่าง
การทำงานกับระบบที่ติดตั้งในองค์กรและบนคลาวด์ รายจ่ายด้านการเงินและเวลาที่ลดลงก็เป็น
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง การนำสถาปัตยกรรมไฮบริดมัลติคลาวด์มาใช้จะช่วยให้พนักงานที่เคยใช้เวลาทำงานไปตามขั้นตอนการทำงานประจำต่าง ๆ สามารถทำงานที่มีส่วนขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะด้านไอทีอย่างรุนแรงได้ เมื่อเวลาที่ใช้ในการบำรุงรักษากระชับขึ้น
แอปพลิเคชันก็จะมีเวลาทำงานมากขึ้น รายได้ก็ไม่หดหายไปจากการต้องใช้เวลาบำรุงรักษานาน นอกจากนี้การที่สามารถรู้ได้แน่นอนว่าจะใช้เวลานานเท่าไรกว่าระบบจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหลังเกิดวิกฤติหนึ่ง ๆ ยังช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสบายใจมากขึ้น
แม้จะมองเห็นประโยชน์ที่ชัดเจน แต่การเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด สิ่งสำคัญคือ ไม่ว่าองค์กรจะใช้คลาวด์ประเภทใดก็ตาม คลาวด์นั้น ๆ ก็ยังคงเป็นเรื่องของเครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของเป้าหมาย การสร้างสมดุลที่ถูกต้องต้องผ่านการทดสอบเสียก่อน และเมื่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นย่อมทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลตามมา นูทานิคซ์มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยการทำให้การทำงานง่ายขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นเพียงแพลตฟอร์มเดียวที่มาพร้อมระบบการปกป้องข้อมูลที่ติดตั้งมาเบ็ดเสร็จ นูทานิคซ์มองเห็นอนาคตที่องค์กรต่าง ๆ สามารถทำงานบนคลาวด์ประเภทใดก็ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่จะมากะเกณฑ์ว่าองค์กรนั้น ๆ ควรดำเนินธุรกิจอย่างไร
เมื่อมีความมั่นใจมากขึ้น เราอาจจะได้เห็นกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะทางต่าง ๆ สร้างระบบคลาวด์ของตัวเองขึ้นมา เช่น กลุ่มบริษัทในภาคการผลิตที่ร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในการสร้างระบบที่ปรับอย่างเจาะจงให้เหมาะกับความต้องการโดยรวมของบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม เป็นต้น หรืออาจเป็นการที่บริษัทเหล่านั้นต่างคนต่างสร้างคลาวด์ของตัวเองขึ้นมา และไม่ว่าจะเลือกวิธีใดก็ตาม คลาวด์มีบทบาทสำคัญยิ่ง ดังนั้นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจต่าง ๆ คือการสร้างกลยุทธ์ไฮบริดมัลติคลาวด์
ที่ตอบความต้องการของตนเองและสามารถช่วยให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่และเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น