Home Technology “ไทย” เพิ่มศักยภาพพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน Battery Energy Storage Solution (BESS) ของบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์

“ไทย” เพิ่มศักยภาพพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน Battery Energy Storage Solution (BESS) ของบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์

0
“ไทย” เพิ่มศักยภาพพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน Battery Energy Storage Solution (BESS) ของบริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์

บริษัท อิมแพค โซล่าร์ จำกัด กำลังพัฒนาระบบไมโครกริดเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ จำกัด ได้รับการคัดเลือกจาก บริษัท อิมแพค โซล่าร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท อิมแพคโซล่าร์ กรุ๊ป ให้ดำเนินการติดตั้งระบบควบคุม e-meshTM PowerStoreTM Battery Energy Storage Solution (BESS) ซึ่งเป็นการจัดเก็บพลังงานในรูปแบบแบตเตอรี่ ให้ระบบไมโครกริดเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ สวนอุตสาหกรรมสหพัฒน์ ศรีราชา โดยหลังจากแล้วเสร็จ สวนอุตสาหกรรมแห่งนี้จะมีกำลังการผลิตรวม 214 เมกะวัตต์ จากพลังงานไฟฟ้าร่วม พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์บนหลังคา แผงโซลาร์ลอยน้ำ และระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่

ระบบไมโครกริดขั้นสูงนี้ เป็นรูปแบบดิจิทัลที่สามารถรวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานที่กระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ (Distributed Energy Resources : DERs) รวมถึงแสงอาทิตย์ และจะจำลองระบบไฟฟ้าในส่วนของสาธารณูปโภค ด้วยการใช้ข้อมูลอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ไมโครกริดจะจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานจากทั้งสวนอุตสาหกรรม ช่วยปรับเพิ่มเสถียรภาพของระบบพลังงานอันเนื่องมาจากความไม่ต่อเนื่องของแสงแดด และช่วยสำรองพลังงานให้กับศูนย์ข้อมูล (data center) ของสวนอุตสาหกรรม ให้แก่ลูกค้าในสวนอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาเสถียรภาพของระบบกริด และระบบไฟฟ้าในการดำเนินธุรกิจ

ยิปมิน เต๋อ รองประธานอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ส่วนงาน กริดส์ ออโตเมชั่น กล่าวว่า “ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage Solution : BESS) ของ ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ เป็นส่วนสำคัญของแผนงานของ บริษัท อิมแพค โซล่าร์ จำกัดในการพัฒนาสวนอุตสาหกรรมให้มีความยั่งยืนและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โมเดลดังกล่าวจะทำการปรับสมดุลการสร้างกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานรูปแบบต่างๆ พร้อมสร้างพลังงานสำรองสำหรับความต้องการของศูนย์ข้อมูล (data center) ในอนาคต และเป็นการวางรากฐานสำหรับแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนพลังงานดิจิทัลแบบเพียร์ทูเพียร์ ( Peer-to-Peer energy exchange platform ) สำหรับลูกค้าของสวนอุตสาหกรรม”

โครงการดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างสำคัญของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก*  ที่มีการตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนคิดเป็นร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2579 โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับสวนอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายใต้เครือสหพัฒน์ รวมถึงสาธารณูปโภคอื่นๆ อีกด้วย

นายวิชัย กุลสมภพ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เครือสหพัฒน์เล็งเห็นว่า การลงทุนด้านพลังงานสะอาดในสวนอุตสาหกรรมของเรา จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ได้ นอกจากนี้ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้วยพลังงานสะอาด จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน โดยเครือสหพัฒน์มีเป้าหมายในการพัฒนาสวนอุตสาหกรรมให้เป็นเมืองอัจฉริยะสำหรับพันธมิตรและชุมชน เราคาดหวังว่าโครงการในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชานี้ จะเป็นต้นแบบให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนได้”

นายวรมน ขำขนิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อิมแพค โซล่าร์ กรุ๊ป กล่าวว่า ”อิมแพค โซล่าร์ ผู้นำด้านการให้บริการระบบควบคุมดูแลพลังงานไฟฟ้าทั่วเอเชีย เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสวนอุตสาหกรรมอัจฉริยะเครือสหพัฒน์ ด้วยนวัตกรรมของบริษัท และด้วยโซลูชั่น e-meshTM ของ ฮิตาชิ  เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานสูงสุดจากแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนพลังงานดิจิทัลในอนาคต“

โครงการนี้พัฒนามาจากพื้นฐานของ กริด เอดจ์ โซลูชั่นส์ ( Grid Edge Solutions ) ของ ฮิตาชิ เอบีบี เพาเวอร์ กริดส์ ที่มีขนาดมากกว่า 500 เมกะวัตต์ (MW) และมีข้อมูลอ้างอิงกว่า 200 โครงการทั่วโลก ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผสานการหมุนเวียนพลังงานกลับมาใช้ใหม่ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน