Home Marketing BRI ยืนหนึ่ง “ตลาดอาหารสัตว์ – อาหารเสริมสำหรับปศุสัตว์” พร้อมลุยตลาดไทยเต็มสูบ ชูกลยุทธ์เสริมสร้างความรู้ด้านอาหารสัตว์ – ทำวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการ

BRI ยืนหนึ่ง “ตลาดอาหารสัตว์ – อาหารเสริมสำหรับปศุสัตว์” พร้อมลุยตลาดไทยเต็มสูบ ชูกลยุทธ์เสริมสร้างความรู้ด้านอาหารสัตว์ – ทำวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการ

0
BRI ยืนหนึ่ง “ตลาดอาหารสัตว์ – อาหารเสริมสำหรับปศุสัตว์” พร้อมลุยตลาดไทยเต็มสูบ ชูกลยุทธ์เสริมสร้างความรู้ด้านอาหารสัตว์ – ทำวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการ

“BRI” (BIORESOURCE INTERNATIONAL, INC.) แบรนด์อาหารสัตว์และอาหารเสริมสำหรับปศุสัตว์จากอเมริกา บุกตลาดไทยหลังเชื่อมั่นศักยภาพปศุสัตว์ไทยเติบโต ดึงกลยุทธ์เสริมสร้างความรู้ด้านอาหารและสร้างงานวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการเป็นแกนนำ ช่วยให้สามารถเลือกอาหารและอาหารเสริมที่เหมาะสมกับสัตว์ เพื่อการเติบโตและให้มีผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์

Mr. Flemming Mahs, President Animal Health & Nurition บริษัท BIORESOURCE INTERNATIONAL, INC. (BRI) กล่าวว่า BRI เป็นผู้คิดค้นพัฒนา ผลิตและส่งออกอาหารสัตว์และอาหารเสริมสำหรับการทำปศุสัตว์ชั้นนำของโลก โดยบริษัทแม่ตั้งอยู่ใน Research Triangle Park รัฐนอร์ธแคโรไลนา ซึ่งเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์ของ BRI ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้มงวด เพื่อกระตุ้นการคิดค้น พัฒนาและผลิตสารเติมแต่งอาหารสัตว์ชนิดพิเศษ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพลำไส้ของสัตว์ปีก สุกร และสัตว์น้ำ สร้างมูลค่าสูงให้กับผู้ผลิตสัตว์ เพิ่มผลกำไรสูงสุดในแบบยั่งยืน

สำหรับตลาดอาหารปศุสัตว์ไทยปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 11% หรือ 11,641 ล้านบาท ทำให้ตลาดมีมูลค่า 258,661 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาพรวมของโลกมีการคลี่คลาย เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีการเปิดประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าโลกกลับมาฟื้นตัว เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารของไทยขยายตัวตามไปด้วย

“มีการคาดการณ์ว่าปี 2566 ตลาดส่งออกสินค้าปศุสัตว์จะส่งออกประมาณ 300,000 ล้านบาท ส่งผลให้อาหารปศุสัตว์มีโอกาสเติบโตและสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการอาหารปศุสัตว์ของไทยได้ขยายโอกาสทั้งในประเทศและตลาดโลก ปัจจุบันไทยส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกเป็นอันดับ 4 ของโลก ขณะที่ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกยังคงเป็นของบราซิล”

จากการมองเห็นโอกาสของอาหารสัตว์และอาหารเสริมในไทย ปีนี้ BRI ได้นำผลิตภัณฑ์เข้ามาจำหน่ายในไทย 2 – 3 แบรนด์ โดยแบรนด์เรือธงสำคัญ คือ เอ็นซ่า โปร (Enzapro) สารเสริมที่มีส่วนผสมหลักสำคัญของ Zymbiotic ซึ่งประกอบด้วย Enzyme Prebiotic และ Probiotic ซึ่ง BRI ได้จดลิขสิทธิ์ชื่อ Zymbiotic เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“เอ็นซ่า โปร จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบลำไส้สัตว์ ลดความสามารถของแบคทีเรียที่ก่อโรคในลำไส้และส่งเสริมสมรรถภาพทางเดินอาหารของไก่ ปลา หมู ซึ่งสารเสริมดังกล่าวไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ เป็นสารธรรมชาติ เมื่อสัตว์มีการขับถ่ายที่ดี กินได้มาก ก็จะเติบโตได้ดี โดยที่ไม่ต้องใช้สารเร่งโตเป็นตัวช่วย”

Mr. Flemming Mahs กล่าวต่อว่า ปกติไก่จะขายได้ต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 2 เดือน แต่ปัจจุบันสารเร่งโตทำให้ไก่สามารถขายได้ภายใน 38 วัน ซึ่งสารเร่งโตเป็นยาปฏิชีวนะที่ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโต (AGP) แต่ปัจจุบันทางยุโรปไม่ให้การยอมรับในสารดังกล่าว เพราะมีสารเร่งเนื้อแดงซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง ดังนั้น การใช้สารเร่งโตแบบธรรมชาติจึงเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

นอกจากนี้ ไก่ที่เลี้ยงในฟาร์ม 1 เล้าจะเลี้ยงประมาณ 20,000 ตัว ทำให้มีโอกาสติดเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella) ได้ ไก่ที่ติดเชื้อหากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมทันที ปริมาณอุจจาระของไก่ที่ติดเชื้อมีโอกาสปนเปื้อนซากเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการแปรรูปเนื้อสัตว์ อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องถูกยุติการส่งออกเนื้อสัตว์ได้ ดังนั้น ประเทศที่สามารถผลิตเนื้อไก่ให้มีความทนทานต่อเชื้อซัลโมเนลลาเป็นศูนย์จึงได้รับการยอมรับจากตลาด สำหรับแผนการทำตลาดของ เอ็นซ่า โปร ในไทย คือ การให้ความรู้และการทำวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้เห็นประสิทธิภาพและการทำงานของ เอ็นซ่า โปร

“ตลาดไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ คนไทยทำปศุสัตว์จำนวนมาก และไทยมีพื้นฐานด้านการเป็นฮับอาหารอยู่แล้ว ทำให้ชิ้นส่วน อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง ซากสัตว์ ฯลฯ เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้เชื่อมั่นว่าการบุกตลาดไทยครั้งนี้ของ BRI จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน”

Mr. Flemming Mahs กล่าวทิ้งท้ายสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเลือกใช้สารเสริมว่า ปัจจุบันสารเสริมทั่วโลกมีอยู่ 900 ชนิด ในประเทศไทยมีสารเสริมจำหน่ายอยู่ 300 ชนิด ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องรู้ก่อนว่าสารเสริมทำงานอย่างไร ตอบสนองอย่างไร และควรเลือกซื้อจากบริษัทที่ให้คำแนะนำ เช่น สารเสริมต้องใช้กับสัตว์อายุเท่าไหร่ ต้องใช้ร่วมกับอะไร ที่สำคัญต้องมี KPI ในการวัดประสิทธิภาพด้วย