ความร่วมมือครั้งนี้จะสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้เยาวชนและผู้ประกอบการไทยได้พัฒนาทักษะการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลและส่งเสริมกระบวนการทำงานเชิงดิจิทัล
เอสเอพี ประเทศไทย จับมือ DEPA จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมลงนามโดย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ที่ 2 จากซ้าย) และ นายเอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า (ที่ 2 จากขวา)
พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กลาง) เป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
กรุงเทพฯ, 1 พฤศจิกายน 2565 – เอสเอพี ประเทศไทย และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (Depa) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อริเริ่มเปิดตัวโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทางดิจิทัลสำหรับเยาวชน ผู้ประกอบการธุรกิจ รวมถึงคนทำงานรุ่นใหม่ที่ต้องการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีแห่งอนาคต (Emerging Technologies)
ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้บนแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อให้เยาวชนและผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยสามารถเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะได้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) โดยจะร่วมกันพัฒนาการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ในระบบการศึกษาแบบเปิด ผ่านหลักสูตรออนไลน์ของ เอสเอพี ตลอดจนนำนวัตกรรมดิจิทัลที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการจัดการการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและคงไว้ซึ่งคุณภาพสำหรับแผนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอหลักสูตรในด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต พร้อมจัดตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการตามข้อตกลงความร่วมมือนี้
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตคิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของ GDP ภายในปี 2573 หรืออาจเร็วกว่านั้น การพัฒนาและส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับเยาวชนและภาคธุรกิจของไทยจึงเป็นสิ่งที่ DEPA ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ จะเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เยาวชนและผู้ประกอบการไทยกำลังปรับตัวเพื่อให้มีทักษะตรงตามความต้องการของตลาดในยุค Digital Transformation เช่น การใช้เครื่องมือดิจิทัลและความเข้าใจในกระบวนการทำงานเชิงดิจิทัล ความร่วมมือกับภาคเอกชนจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต ความร่วมมือกับเอสเอพี ในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมและต่อยอดความพยายามของ DEPA ในการพัฒนาทักษะดิจิทัลใหม่ให้กับเยาวชนและผู้ประกอบการไทย”
ขณะเดียวกัน เอสเอพี ยังนำทรัพยากรขององค์กรไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีอัจฉริยะ ตลอดจนบุคลากรที่มีความสามารถ มาผนึกกำลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นในศตวรรษนี้ และเตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่ ผู้ซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนอนาคต
จากการศึกษาของเอสเอพี แสดงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาบุคลากรที่มีทักษะสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ นายเอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “ผลการศึกษาล่าสุดของเรา พบว่า การขาดบุคลากรที่มีทักษะ เป็นความท้าทายอันดับต้น ๆ ของธุรกิจไทยในการขับเคลื่อนการเติบโตและเร่งเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ความท้าทายนี้ฉีกรูปแบบความท้าทายเดิมที่ธุรกิจเคยพบเจอในอดีต เช่น ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ การขาดงบประมาณ และการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโซลูชันดิจิทัล”
“การบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถและการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างขุมพลังของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศเติบโตได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เอสเอพี มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนงานด้านดิจิทัลทั้งในประเทศไทยและทั่วทั้งภูมิภาคมาโดยตลอด ความร่วมมือในครั้งนี้ตอกย้ำความพยายามของเราในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ผลักดันให้ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรกับ DEPA ในการยกระดับทักษะดิจิทัลและร่วมกันสร้างอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย สรรค์สร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยให้โลกดำเนินต่อไปได้ดียิ่งขึ้นพร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน” นายเอทูล กล่าวปิดท้าย
ทั้งนี้ เอสเอพี ประเทศไทย ได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด และการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็นในอนาคต ให้กับเยาวชนไทยมากกว่า 1,200 คนในแต่ละปี
เยี่ยมชมศูนย์ข่าวเอสเอพี ติดตามเอสเอพี บน Twitter ได้ที่ @SAPNews
#
จากซ้ายไปขวา)
ดร.จิระวรรณ ไชยพงศ์ผาติ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายดูแลรัฐสัมพันธ์ เอสเอพี ประเทศไทย
นายเอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า
ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เกี่ยวกับ เอสเอพี (SAP)
ในฐานะบริษัทที่ช่วยพลิกโฉมองค์กรลูกค้าสู่ Intelligent, Sustainable Enterprise เอสเอพี เป็นผู้นำตลาดซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นระดับองค์กร ที่ได้ช่วยเหลือองค์กรขนาดต่างๆในทุกอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดย 87% ของรายได้จากการทำธุรกรรมของโลกนั้นเกิดขึ้นบนระบบของเอสเอพี นอกจากนี้เทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิ่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงของเอสเอพี ช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เอสเอพีช่วยให้ผู้คนและองค์กรเข้าใจในธุรกิจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เราลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเราได้อย่างที่ต้องการและต่อเนื่อง ชุดแอปพลิเคชันและบริการครบวงจรของเอสเอพี ช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและภาครัฐกว่า 25 อุตสาหกรรมทั่วโลก สามารถทำกำไร ปรับตัว และสร้างความแตกต่างได้ ด้วยเครือข่ายลูกค้าพาร์ทเนอร์ พนักงาน และผู้นำทางความคิดที่มีอยู่ทั่วโลก เอสเอพีช่วยให้โลกดำเนินงานได้ดีขึ้นและปรับปรุงชีวิตของผู้คน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com
#
คำแถลงการณ์ใด ๆ ที่มีอยู่ในเอกสารฉบับนี้ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์เอกชนของปีพ. ศ. 2538 คำต่างๆ เช่น “คาดการณ์” “เชื่อ” “ประมาณการณ์” “คาดว่า”, “ตั้งใจ” “อาจ” “ควร” และ “จะ” และสำนวนที่คล้ายคลึงกันที่เกี่ยวข้องกับเอสเอพี ถือเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า เอสเอพีไม่มีข้อผูกมัดในการเผยแพร่หรือแก้ไขแถลงการณ์ที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าใด ๆ ต่อสาธารณชน แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆที่อาจทำให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงแตกต่างอย่างมากจากที่คาดการณ์ไว้ ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการทางการเงินในอนาคตของเอสเอพี จะถูกกล่าวถึงอย่างละเอียดยิ่งขึ้นในเอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) รวมถึงรายงานประจำปีล่าสุดของเอสเอพี ในแบบฟอร์ม 20-F ที่ยื่นต่อ SEC ผู้อ่านต้องได้รับการเตือนว่าอย่าให้เชื่อมั่นในแถลงการณ์เชิงคาดการณ์เหล่านี้เกินควร ซึ่งได้ระบุไว้ในวันที่พูดเท่านั้น
© 2020 SAP SE สงวนลิขสิทธิ์.
SAP และผลิตภัณฑ์และบริการของ SAP อื่น ๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้รวมถึงโลโก้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ SAP SE ในประเทศเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ โปรดดู https://www.sap.com/copyright สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและประกาศต่างๆ
หมายเหตุบรรณาธิการ:
สามารถรับชมและดาวน์โหลดฟุตเทจสต็อกขนาดมาตรฐานสำหรับการออกอากาศและรูปภาพไฟล์ดิจิทัลสำหรับประกอบข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ www.sap.com/photos โดยคุณสามารถค้นหาไฟล์ภาพและวิดีโอที่มีความละเอียดสูงตามความเหมาะสมกับช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารของคุณ หากต้องการติดตามวิดีโอนำเสนอเรื่องราวในหัวข้อต่างๆ ติดตามได้ที่ www.sap-tv.com จากเว็บไซต์นี้ คุณสามารถฝังวิดีโอลงในเว็บเพจของคุณเองรวมถึงแชร์วิดีโอผ่านลิงก์อีเมลและสมัครรับฟีด RSS จาก SAP TV
สำหรับลูกค้าที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เอสเอพี:
ศูนย์ลูกค้าทั่วโลก: +49 180 534-34-24
สำหรับลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา: โทร 1 (800) 872-1SAP (1-800-872-1727)