ในการพัฒนา IoT ห้อง Negative Pressure ครุภัณฑ์ทางการแพทย์
กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า โครงการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลสกลนคร เพื่อสรุปติดผลงานจากสถานการณ์โควิดในพื้นที่ และจำนวนผู้รับบริการจากการใช้งานจริง พร้อมทดสอบระบบและห้องแรงดันลบถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ วิเคราะห์ปัญหาการใช้งานระบบในการพัฒนาต่อยอดในอนาคต ซึ่งมุ่งประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วย COVID-19 มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ลดโอกาสการติดเชื้อจากการทางาน ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคโควิดไปสู่ ผู้ป่วยอื่นและบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล
นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กทปส. ได้ให้ความสำคัญกับสถานการณ์โควิด 19 มาโดยตลอด ที่ผ่านมา กทปส. ได้ให้การสนับสนุนโครงการฯ ต่าง ๆ ที่มุ่งเป้าต่อประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะ โครงการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ โรงพยาบาลสกลนคร ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจกรรมโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข มุ่งเน้นให้เกิดการเว้นระยะห่างทางกายภาพ หรือ Physical distancing ในการต่อสู้สถานการณ์ “ไวรัสโคโรน่า” สายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยโครงการฯ ได้จัดหาครุภัณฑ์การแพทย์สำหรับบริการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ได้รับการรักษาตามมาตรฐานและพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคโควิด-19 ด้วยระบบสารสนเทศทางการแพทย์ใน และทางโรงพยาบาลได้ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นจากการทำงาน ให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วย COVID-19 มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ลดโอกาสการติดเชื้อจากการทำงาน และป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคโควิดไปสู่ผู้ป่วยอื่นและบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล
นายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักกองทุนวิจัยและพัฒนา กล่าวว่า จากผลการลงพื้นที่ติดตามโครงการฯ ทำให้เห็นประสิทธิภาพการทำงานของโครงการฯ ตั้งแต่ต้นจนถึงล่าสุดที่ผลการดำเนินงานเกิดการใช้งานจริง ตั้งแต่ ปรับปรุงห้อง negative pressure จำนวน 3 ห้อง ได้แก่ OR negative pressure จำนวน 1 ห้อง LR negative pressure จำนวน 1 ห้อง และ ER negative pressure จำนวน 1 ห้อง รองรับผู้ป่วยที่ผ่านมากว่า 100 ราย การใช้งานระบบ IoT ในห้อง ความดันลบ ตึก SiCU ทำให้ทราบค่าอุณภูมิ ความชื้น ความดัน บรรยากาศอัตราการไหลของอากาศและ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งได้รับการ monitor ตลอดเวลา แพทย์ พยาบาลที่ ปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถดูได้ตลอดเวลา และครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องติดตามการทางานของหัวใจและสัญญาณชีพ 6 พารามิเตอร์ระบบรวมศูนย์ ไม่น้อยกว่า 8 เตียง ขนาดใช้ในห้อง Negative Pressure จานวน 2 เครื่อง (ใช้ที่ตึก Sicu) และเครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดัน ขนาดกลาง จำนวน 1 เครื่อง (เดิมใช้ที่ตึก Sicu ปัจจุบัน นำไปให้กลุ่มวิศวกรรมการแพทย์ดูแลใช้หมุนเวียนภายในโรงพยาบาล)”
“โครงการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร ถือได้ว่าเป็นหนึ่งโครงการที่ได้รับการใช้งานจริง พร้อมต่อยอดพัฒนาระบบในอนาคต โดยเป็นโครงที่ได้รับการสนับสนุนจาก กทปส. กับงบประมาณที่ได้รับส่งต่อผ่านโรงพยาบาลสกลนครนำมาพัฒนาระบบ IoT, ปรับปรุงห้อง Negative Pressure และจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ ระบบสารสนเทศทางการแพทย์ที่เข้าถึงข้อมูลและให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านั้นครุภัณฑ์ทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงวิกฤติที่ผ่านมาทำให้ให้บริการผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉินต้องมีความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรคอย่างทันท่วงที ดังนั้น กทปส. มั่นใจว่า โครงการฯ ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน รองรับการให้บริการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ผู้ป่วยติดเชื้อในปัจจุบันและในอนาคต พัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพี มีครุภัณฑ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอต่อผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉินโควิด-19 ในจังหวัดสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง มีพร้อมในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อโรคภายในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ” นายชาญวุฒิ กล่าวสรุป
**********************************