โครงการข้าวเพื่อหมอ Food For Fighters
กิจกรรม “MOVE ON FIGHTERS” พี่เขื่อน – ภัทรดนัย เสตสุวรรณ จูงมือชวนน้องอาแมนด้า ชาลิสา ออบดัม มาแพค “ถุงยังชีพสร้างสรรค์” พร้อมเปิดตัว “สติ๊กเกอร์ไลน์ MOVE ON FIGTHERS” โดยน้องแพรว รักชนก ช่วยเหลือ นักออกแบบรุ่นใหม่ จากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถมด้วยTOP CHEFS กว่า 10 ชวนกันตบเท้าส่ง “ปิ่นโตโกราวด์” มาช่วยบุคคลากรทางการแพทย์และชาวชุมชนแออัดกับแคมป์คนงานแม้ตัวเองยังอยู่ในสถานการณ์ลำบาก
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ Food For Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายภัทรดนัย เสตสุวรรณ นักจิตบำบัดฝึกหัดและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิ LGBTQ+ ชักชวนน้องอาแมนด้า ชาลิสา ออบดัม Top 10 Miss Universe มาจัดถุงยังชีพสร้างสรรค์ พร้อมเขียนข้อความให้กำลังใจผู้กักตัวในชุมชนแออัดและแคมป์คนงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
“เวลาเราเห็นคนอื่นลำบาก แล้วเรามีกำลังช่วย ทำไมเราถึงจะไม่ช่วยเค้า อแมนด้าเริ่มต้นทำงานจิตอาสามาตั้งแต่เด็กๆ ด้วยความที่โตมากับเหตุการณ์สึนามิ ในตอนนั้น ผู้คนได้รับผลกระทบอย่างหนัก บ้านเรือนเสียหาย แต่ภูเก็ตสามารถฟื้นตัวได้เร็วมาก เพราะเราได้รับการช่วยเหลืออย่างล้นหลาม ในสถานการณ์โควิดครั้งนี้ พวกเราจำเป็นจะต้องจับมือกันข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก ขอขอบคุณนักสู้ (fighters) ทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบ บุคลากรทางการแพทย์ หรือทีมอาสา
เราจะสู้ไปด้วยกันค่ะ” นางสาวอาแมนด้า ชาลิสา ออบดัมกล่าวถึงความรู้สึกที่ได้มาเป็นอาสาสมัครในวันนี้
“โควิดครั้งนี้หนักหนามาก ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างสาหัส ทั้งความเป็นอยู่และสภาพจิตใจ หลังจากเขื่อนทราบว่า Food for Figthers รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบช่วงโควิด เขื่อนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง เพราะเขื่อนเชื่อว่ายังมีคนที่ลำบากกว่าและต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเขื่อนขอให้กำลังใจและหวังว่าสิ่งเล็กๆที่เราพยายามส่งต่ออย่างเต็มที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนครับ” ภัทรดนัย เสตสุวรรณ “เขื่อน” กล่าวถึงความรู้สึกหลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมแพคถุงยังชีพ
นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวสติ๊กเกอร์ไลน์และเสื้อยืด “MOVE ON FIGHTERS” เพื่อใช้ในการระดมทุนนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วมาใช้ในการจัดซื้อข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อจัดทำ “ถุงยังชีพสร้างสรรค์” ซึ่งออกแบบโดยนักออกแบบจิตอาสารุ่นใหม่ นางสาวรักชนก ช่วยเหลือ นิสิตคณะนิเทศศาสตร์เอกการประชาสัมพันธ์และโฆษณา ชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเคยมีผลงานการออกแบบสติ๊กเกอร์ไลน์ชุด “The Jewel Pet” มาก่อนหน้านั้น “แพรวคิดว่าในฐานะที่เกิดมาในยุควิกฤต covid-19 คนรุ่นใหม่จำเป็นที่จะต้องรับรู้ถึงความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มนุษย์จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อดำรงชีวิต และวิกฤตครั้งนี้จะไม่สามารถผ่านพ้นไปได้เลย หากปราศจากความร่วมมือของคนในสังคม กระบวนการทุกอย่างที่จะสามารถนำพาเราออกจากวิกฤต จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีความเชื่อมั่น”
Food For Figthers