วิเคราะห์การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ประจำเดือนพฤษภาคม 2564

0
409

การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเดือนพฤษภาคม 2564 มีการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่จานวน 5,568 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 33% และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 7% ทั้งนี้ การลดลงของจำนวนการจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ในเดือนพฤษภาคม อาจมีผลมาจาก การระบาดระลอกสามของโควิด-19 ที่กระจายเป็นวงกว้าง และมีคลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนพฤษภาคม 2564 ของธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 43 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าถึง 7% และใกล้เคียงกับช่วงการแพร่ระบาดอย่างหนักในปีก่อนหน้า

เมื่อพิจารณาจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในแต่ละภาคธุรกิจนั้น ธุรกิจที่มีจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จัดตั้งเพิ่มขึ้น 140 ราย คิดเป็น 81.40 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหารจัดตั้งเพิ่มขึ้น 84 ราย คิดเป็น 1 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ธุรกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้า จัดตั้งเพิ่มขึ้น 53 ราย คิดเป็น 41% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ธุรกิจก่อสร้างทั่วไปจัดตั้งเพิ่มขึ้น 49 ราย คิดเป็น 9% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า และธุรกิจกิจกรรมการสร้างแม่ข่ายจัดตั้งเพิ่มขึ้น 47 ราย คิดเป็น 47 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า

ในขณะเดียวกันหากพิจารณาภาพรวมการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในเดือนพฤษภาคม 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2564 พบว่ามีการจดทะเบียนลดลง คิดเป็น 7% เนื่องจากผู้ประกอบการ ยังคงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และชะลอการตัดสินใจจัดตั้งนิติบุคคลออกไปก่อน เช่น ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร ธุรกิจบัญชีและการตรวจสอบบัญชี และ ธุรกิจออกแบบและตกแต่งภายใน 

อย่างไรก็ตาม จากมาตรการการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 นับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ที่มีจำนวนประชาชนผู้ได้รับวัคซีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการมีนโยบายในการเปิดพื้นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ที่มีความพร้อมจากจำนวนประชาชนผู้ได้รับวัคซีนที่เพียงพอ และมาตรการที่รัดกุมในเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป เช่น จังหวัดภูเก็ต และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เช่น โครงการคนละครึ่งเฟส 3 โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่จะเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2564 รวมทั้ง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น มาตรการ “สินเชื่อ ฟื้นฟู” มาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” ของธนาคารแห่งประเทศไทย โครงการ “จับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับร้านอาหาร” ของกระทรวงพาณิชย์ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือเข้าถึงสถาบันการเงิน โดยมีดอกเบี้ยราคาพิเศษ และปลอดหลักทรัพย์ในบางกรณี น่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในครึ่งปีหลังฟื้นตัวขึ้น