ไมโครชิปเปิดตัวอะแดปเตอร์จ่ายกระแสไฟฟ้าและข้อมูล IEEE® 802.3bt Power over Ethernet to USB Type-C® ตัวแรกสู่ท้องตลาด ช่วยให้สามารถขยายฐานการติดตั้งให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ที่ใช้ USB Type-C ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ PoE หลากหลายรูปแบบได้ถึง 90W
และให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดถึง 60W
3 มี.ค. 2564 – ในปัจจุบันพบว่าอุปกรณ์สำหรับผู้ใช้งาน องค์กร และกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมายมีพอร์ต USB Type-C เป็นตัวเลือกเดียวที่ใช้สำหรับกำลังไฟฟ้าอินพุต อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เทคโนโลยี USB-C® จะให้อัตรากำลังไฟฟ้าสูงและส่งข้อมูลได้มากกว่า แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางการติดตั้งไว้ที่ต้องไม่ห่างจากซ็อกเก็ตไฟ AC เกินสามเมตร ทั้งนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสาย UTP (PoE) เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ทั้งยังเป็นโซลูชันที่สะดวกกว่าโดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านสายอีเทอร์เน็ตมาตรฐาน เทคโนโลยีนี้จึงกลายเป็นโซลูชันที่ใช้งานได้จริงที่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าและข้อมูลได้ไกลถึง 100 เมตร ในขณะที่อะแดปเตอร์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดสามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้เพียงอย่างเดียวและให้อัตรากำลังไฟฟ้าที่จำกัดเพียง 25W เท่านั้น บริษัท ไมโครชิป เทคโนโลยี จำกัด (ตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก: MCHP) ประกาศในวันนี้ว่าเทคโนโลยีอะแดปเตอร์ PoE to USB-C สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดโดยแปลงได้ทั้งกระแสไฟฟ้าและข้อมูล ทั้งยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่าน USB ได้สูงสุดถึง 60W ผ่านสายอีเทอร์เน็ตที่รองรับโดยโครงสร้างการทำงานของ PoE. 026502956
อะแดปเตอร์ (รหัสรุ่นผลิตภัณฑ์ PD-USB-DP60) รองรับ PoE ได้สูงสุดถึง 90W และสามารถแปลงกระแสไฟฟ้าได้ถึง 60W ผ่าน USB-C แล้วจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับกล้องถ่ายรูป แล็ปท็อป แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยใช้ USB-C เป็นกำลังไฟฟ้าอินพุต อะแด็ปเตอร์นี้จะช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้งโดยลดการพึ่งพาโครงสร้างแบบ AC ทั้งนี้ เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ซ็อกเก็ตไฟ AC อีกต่อไป ข้อจำกัดในเรื่องระยะทางการติดตั้งไม่เกินสามเมตรจึงหมดไปด้วยเช่นกัน และทำให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ไกลกว่า 100 เมตร อะแดปเตอร์นี้ช่วยเพิ่มสมรรถนะของอุปกรณ์ที่จ่ายกระแสไฟฟ้าผ่าน USB-C ให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในระยะไกลได้ ความสามารถในการรีเซ็ตพลังงานในระยะไกลจาก PoE ต้นทางช่วยให้การหมุนเวียนพลังงานผ่านเว็บอินเตอร์เฟสหรือ Simple Network Management Protocol (SNMP) สามารถรีเซ็ตอุปกรณ์ได้ แทนการถอดปลั๊กไฟและรีสตาร์ทอุปกรณ์ด้วยตนเอง ณ ตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์
เทคโนโลยีอะแดปเตอร์ PoE to USB-C ของทางไมโครชิปสามารถเชื่อมต่อกับ PoE ต้นทางต่าง ๆ ทั้งยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการรองรับมาตรฐาน IEEE® 802.3af/at/bt ล่าสุด รวมถึงมาตรฐาน PoE เดิม อะแดปเตอร์อเนกประสงค์ถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการติดตั้งรูปแบบการใช้งาน PoE ไว้หลากหลายรูปแบบ
“อุปกรณ์ใหม่นี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการปรับใช้อุปกรณ์ USB-C อย่างสะดวกสบาย และยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้จากระยะไกล ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ได้อีกด้วย” ไอริส ชูเกอร์ ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจ PoE ของ ไมโครชิปกล่าว “อะแดปเตอร์ถูกประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนชิป PoE และ IC ที่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่าน USB ได้ และสามารถใช้งานร่วมกับ PoE injector และ midspan ล่าสุดของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ”
สมรรถนะในการแปลงกระแสไฟฟ้าอินพุต 90W เป็นกระแสไฟฟ้าเอาต์พุต 60W ทำให้อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องชาร์จพลังงานสูงสามารถใช้ประโยชน์จาก PoE ได้อย่างสูงสุดอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน อะแดปเตอร์สามารถใช้งานกับพอร์ต PoE injector/midspan แบบพอร์ตเดียวและแบบหลายพอร์ต (สูงสุด 24 พอร์ต) และสวิตช์ของไมโครชิปได้ โดยเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม IEEE 802.3af/at/bt ทั้งยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 90W ต่อพอร์ต หากต้องการกำลังไฟฟ้าที่ต่ำกว่าเพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ USB-C คุณสามารถใช้ PoE IEEE802.3af (15.4W) หรือ IEEE802.3at (30W) จากต้นทางได้
นอกจากนี้ไมโครชิปยังมีโซลูชันวงจรรวมหลักที่เปิดใช้งานอะแดปเตอร์ PoE to USB-C รวมถึง PoE ICs ตระกูล PD70xxx และบริดจ์ LAN7800 USB-to-Ethernet อะแดปเตอร์เปิดใช้งานฟังก์ชันการทำงานโดย Power Delivery Software Framework (PSF) ของทางไมโครชิป ซึ่งเป็นสแต็ก Power Delivery (PD) แบบโอเพนซอร์สที่ทำงานกับระบบควบคุม UPD301C PD และให้สมรรถนะการทำงาน PD 3.0 ได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการปรับแต่งค่าสำหรับระบบควบคุม PD ไมโครคอนโทรลเลอร์ และฮับ USB ของทางไมโครชิปด้วย
ราคาและการวางจำหน่าย
อะแดปเตอร์ PoE to USB-C วางจำหน่ายแล้วในราคาชุดละ $100.00 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตัวแทนขายและผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตทั่วโลกของไมโครชิป หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา หากต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์นี้ กรุณาไปยัง ช่องทางการจัดซื้อ ของเราหรือติดต่อผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากไมโครชิป