TAITRA พา 23 บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีจากไต้หวัน ตบเท้าร่วมงาน Smart Industry Trade Mission 2022 หวังจับคู่นักธุรกิจไทย-ไต้หวัน ลงทุนอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะ


23 บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะจากไต้หวันพากันเข้าร่วมในงาน “จับคู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอัจฉริยะ 2565” (Smart Industry Trade Mission 2022) หวังเปิดโอกาสการเป็นพันธมิตรกับภาครัฐและเอกชนไทยในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย


นางสาวซินเธีย ควง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน เปิดเผยว่า ประเทศไทย ถือเป็นประเทศเป้าหมายทางพันธกิจการค้าอีกประเทศหนึ่ง เพราะหลังจากไวรัสโควิดได้ระบาดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ทำให้ประชาชนไม่สามารถติดต่อสื่อสารและทำธุรกิจแบบเจอหน้าได้ เนื่องจากมีการควบคุมทางชายแดนอย่างเข้มงวด แต่การพบกันแบบเผชิญหน้ายังถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการค้าระหว่างประเทศ โดยในช่วงเวลานั้นไต้หวันไม่เคยหยุดที่จะปรับและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมต่างๆ และยังมีแผนที่จะแสดงความสำเร็จเหล่านี้ในประเทศไทย ในงาน “Smart Industry Trade Mission 2022” งานจับคู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอัจฉริยะ 2565 จัดโดย สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน (TAITRA) โดยมีความร่วมมือกับ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน ซึ่งเป็นงานจับคู่ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะจากไต้หวัน มาพบกับนักธุรกิจไทยที่กำลังมองหาพาร์ทเนอร์ ทั้งเรื่องการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ Smart Manufacturing , Smart City , Smart Agriculture และ Smart Transportation โดยจัดขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาธร ซึ่งนับเป็นการจัดงานจับคู่ธุรกิจไทย-ไต้หวัน ในกรุงเทพเป็นครั้งแรกหลังจากต้องงดเว้นไปเนื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยเป็นเวลามากกว่า 2 ปี


สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลทางเศรษฐกิจที่ไต้หวันให้ความสนใจคือ “โครงการเมืองอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี เพื่อรองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายและปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการตัวเองที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คนภายในเมืองและความปลอดภัย
“ประเทศไทยต้องการที่จะพัฒนาเมืองอัจฉริยะและอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยมีแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ซึ่งจะเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่มหาอำนาจในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม อีกทั้ง ประเทศไทยยังมีเป้าหมายที่จะสร้างเมืองอัจฉริยะ 100 แห่งภายในปี 2567 ซึ่งเป็นไปตามโมเดลเศรษฐกิจ “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งเมืองอัจฉริยะถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ของเมือง อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้โดยต่างคนต่างทำ ดังนั้น เราจึงได้รวบรวมกลุ่มพันธกิจการค้านี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเชื่อมต่อทั้ง 23 บริษัทไต้หวันชั้นนำซึ่งมีสินค้าที่หลากหลายและก้าวล้ำไปกว่าเมืองอัจฉริยะ สามารถสนองตอบความต้องการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งอัจฉริยะ พลังงานอัจฉริยะ การผลิตอัจฉริยะ และเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งองค์กรเหล่านี้ล้วนมีประสบการณ์ ข้อมูลเชิงลึกและทรัพยากรที่จะช่วยเร่งความคืบหน้าไปสู่เป้าหมายเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยได้เร็วขึ้นอีกด้วย” นางสาวซินเธีย ควง กล่าว

สำหรับ คณะผู้แทนประกอบด้วย บริษัทไต้หวัน 23 แห่ง ผู้พัฒนาระบบและให้บริการโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะ ในจำนวนนี้มี 7 บริษัทนำเสนอระบบขนส่งอัจฉริยะ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ โซลูชันที่ครบวงจร และความมุ่งมั่นในการให้บริการเพื่อสร้างเมืองแห่งอนาคต โดยโซลูชันและบริการเหล่านี้ ได้รวมถึงระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETC) สำหรับมอเตอร์เวย์และท่าเรืออัจฉริยะที่ใช้ระบบประตูอัตโนมัติ (AGS) โดยมีไฮไลต์คือ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ FETC ซึ่งเป็นผู้พัฒนาระบบ M-Flow หรือระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติที่ได้เปิดให้บริการในไทยเมื่อเร็วๆ นี้ อีกรายคือบริษัท Chunghwa Telecom ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในไต้หวัน นอกจากนี้ สินค้าอื่นๆในงานยังมีสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ โซลูชันจอแสดงผลตามสถานี ระบบกล้องวงจรปิด ระบบควบคุมการจราจรแบบไดนามิก ระบบขนส่งอัจฉริยะ และรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV) โดยไต้หวันได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลทั่วโลกเพื่อนำเสนอโซลูชั่นต่างๆ ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่าไต้หวันมีความแข็งแกร่งและมุ่งมั่นที่จะรุกตลาดต่างประเทศ โดยพร้อมจะทำงานร่วมกับทั่วโลกเพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลาย โดยเฉพาะในประเทศไทย

ทั้งนี้ไต้หวันนับเป็นหนึ่งในผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและและโซลูชันเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จากรายงานดัชนีเมืองอัจฉริยะปี พ.ศ. 2565 ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม พบว่า เมืองไทเปของไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 12 ในฐานะเมืองอัจฉริยะ ซึ่งหมายความว่าบริษัทต่างๆจะได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในไต้หวัน เช่น Internet of Things (IOT) สิ่งเหล่านี้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ความปลอดภัยสาธารณะโดยรวม และช่วยให้ไต้หวันยังคงรักษาระดับแนวหน้าของเมืองอัจฉริยะอีกด้วยด้วย

นางสาวซินเธีย กล่าวว่า ประเทศไทย มีสถานที่ตั้งที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ทางการค้า เพราะเป็นประตูสู่เอเชียของนักลงทุน และเป็นศูนย์กลางของประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน ในขณะที่ไต้หวันและไทยมีความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกันมาก โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในไทย มาจากบริษัทสัญชาติไต้หวันมากที่สุด โดยมีสัดส่วนถึง 30% รวมมูลค่ากว่า 38,000 ล้านบาท และมีบริษัทสัญชาติไต้หวันมากกว่า 5,000 บริษัท และชาวไต้หวันกว่า 200,000 คนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ชลธิชา รุ่งฟ้าไพศาล (จอย) 081 827 5922

เอสซีจี เซรามิกส์ตอกย้ำผู้นำกระเบื้องตกแต่ง คว้ารางวัลความเป็นเลิศด้วยนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและ ESG จาก Thailand Corporate Excellence Awards 2023 

นายนำพล มลิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทน บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) รับมอบ 2 รางวัลดีเด่น สาขาความเป็นเลิศด้านสินค้า-การบริการ Thailand Corporate Excellence Awards 2023  จัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย...

WorldFirstประกาศแผนการเปิดตัวบริการWorld Account ในประเทศไทยและตลาดอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

• ขยายโซลูชันการเงินดิจิทัลอีคอมเมิร์ซสำหรับเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2566 – 2567 ให้สามารถเชื่อมต่อและเติบโตในตลาดอีคอมเมิร์ซระดับโลกได้มากขึ้น ด้วยบริการชำระเงินและบริการทางการเงินข้ามพรมแดนที่ปลอดภัย, รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ • ลูกค้าเอสเอ็มอีในสิงคโปร์ของ WorldFirst รายงานว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงตุลาคมปี 2566 มียอดขายสินค้าออนไลน์รวมต่อเดือน(GMV) สูงขึ้นถึง 70% คลารา ชิ ซีอีโอของ WorldFirst ประกาศแผนการเปิดตัวบริการ World Account ในประเทศไทยและตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุงเทพฯ - 6 ธันวาคม 2566 - WorldFirst แพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลและบริการทางการเงินสำหรับเอสเอ็มอีที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ได้ประกาศแผนการเปิดตัวโซลูชันการเงินดิจิทัลสำหรับอีคอมเมิร์ซในตลาดใหม่ ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2566 และ 2567 โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนผู้ขายออนไลน์ให้เติบโตผ่านบริการชำระเงินและบริการทางการเงินข้ามพรมแดนที่ปลอดภัย รวดเร็ว...

LINE ดูดวง ชวนบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม ได้บุญ พร้อมลดหย่อนภาษีได้

มีผู้กล่าวไว้ว่า สิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ภาษี และความตาย….อย่างหลัง คงเป็นจริงดังว่า แต่สำหรับภาษี ถึงจะเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็หาทางลดหย่อนกันได้นะ และนี่ก็ปลายปีกันแล้ว ใครที่มีรายได้ และหาช่องทางลดหย่อนภาษีอยู่ เชิญทางนี้เลย!! หากคุณเป็นผู้มีรายได้...

ผู้บริโภคไทยให้ความสำคัญต่อการบริการที่ดีเยี่ยมมากกว่าราคาQualtrics เผยให้เห็นถึงแนวโน้มการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในปี 2567

เมื่อ AI กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และมีความสำคัญอย่างมากในการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์, คุณภาพของสินค้าจึงมีความสำคัญมากกว่าราคา บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภค ผลการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ โดย Qualtrics เปิดเผยว่า ในประเทศไทยผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการบริการลูกค้าที่ดีเยี่ยมมากกว่าเรื่องราคา

บริษัท โคเวอร์แมท เซ็น MOU กับ ไดเวอร์ซี่ ไฮยีน (ประเทศไทย) ขยายธุรกิจกลุ่ม Healthcare เสริมทัพกลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ด้านทำความสะอาด ฆ่าเชื้อทางการแพทย์ แบบครบวงจร

บริษัท โคเวอร์แมท จำกัด ผู้นำตลาดด้านอุตสาหกรรมสีเขียวรักษ์โลก และสินค้ากลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบสิ้นเปลือง นำโดย คุณณัฐวุฒิ เลิศรัตน์เดชากุล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการฝ่ายบริหาร (ที่ 3 จากขวา) และคุณ Vikas Mittal (กรรมการผู้จัดการ (Thailand,...

ฮีโน่ รับมอบรางวัล BUSINESS+ PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2023“ด้านยานยนต์ ประเภทรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ HINO MY23”

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มิสเตอร์ เคน อิวาโมโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด รับมอบรางวัล Business+ Product of...