Home PR. News อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจติดตามภารกิจสำคัญ ในพื้นที่เขตตรวจราชการ เน้นย้ำทำงานเป็นทีม ใช้ระบบฐานข้อมูล บูรณาการทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน

อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจติดตามภารกิจสำคัญ ในพื้นที่เขตตรวจราชการ เน้นย้ำทำงานเป็นทีม ใช้ระบบฐานข้อมูล บูรณาการทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน

0
อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจติดตามภารกิจสำคัญ ในพื้นที่เขตตรวจราชการ เน้นย้ำทำงานเป็นทีม ใช้ระบบฐานข้อมูล บูรณาการทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน

วันที่ 28 ธันวาคม 2564 นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจ รายไตรมาส ครั้งที่ 1 จุดที่ 2 ให้แก่พัฒนาการจังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มงานทุกกลุ่มงาน ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 1,2,3,4,8,9 โดยมีนายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ตรวจราชการกรม และผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมรับฟังการประชุมฯ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี จังหวัดสระบุรี

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดี พช. กล่าวว่า “การลงพื้นที่ในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้นโยบายการขับเคลื่อนงานตามแผนปฏิบัติราชการกรมการพัฒนาชุมขน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้แก่พัฒนาการจังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มงานทุกกลุ่มงาน ในเขตตรวจราชการที่ 1,2,3,4,8,9ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจแก่ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งศึกษาดูงานกิจกรรมพัฒนาชุมชนในศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี

นายสมคิด จันทมฤก ได้กล่าวว่า ตนเองมีแนวคิดทำงานคือ “เรียบง่าย ได้สาระ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด” โดยได้วางระบบการบริหารงาน คือ “งาน งบ ระบบ คน” สู่ปฏิบัติการสำคัญ ปี 2565 คือ การขจัดความยากจนและสร้างรายได้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2565 มีภารกิจสำคัญ ได้แก่ 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล 3. รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และการส่งเสริมช่องทางการตลาด 4. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ 5. การติดตามเงินทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ที่อยู่ระหว่างชำระคืนเงินยืมตามสัญญา ปี 2564 6. การบริหารจัดการหนี้ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 7. มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 โดยการสวมใส่ผ้าไทยสัปดาห์ละ 2 วัน และ 8. การพัฒนาระบบดิจิทัลสำหรับประชาชนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์แพลทฟอร์มบริการดิจิทัล “Click ชุมชน” เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเข้าสู่ย่างก้าวที่ 60 ปี กรมการพัฒนาชุมชน “สร้างสรรค์ชุมชน สร้างคน สร้างชาติ”

โดยได้เน้นย้ำการดำเนินงานต้องควบคู่ไปกับการจัดทำงบประมาณ ระบบพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ การจัดการความรู้ เน้นการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน การให้ความสำคัญกับคน โดยเฉพาะพัฒนาบุคลากรกรมพัฒนาชุมชน จะต้องมีการฝึกอบรม และส่งเสริมความก้าวหน้า ตลอดจนมีการติดตามขับเคลื่อน มีการประชุมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากร ผู้บริหารส่วนกลางมีหน้าที่สนับสนุนขับเคลื่อนการทำงานไปด้วยกัน ให้มีทำงานเป็นทีม บูรณาการกับทุกภาคส่วน และต้องให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะการมีทีมงานถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของความสำเร็จ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์องค์กรด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ และการสร้างการรับรู้แก่สาธารณชน โดยเฉพาะการดำเนินการโครงการต่างๆของกรม อาทิ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”

ทั้งนี้ขอฝาก “Click ชุมชน” ที่เป็นแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ผ่าน 9 Feature ที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. เมนูเที่ยวชุมชน การเข้าถึงชุมชนท่องเที่ยว Virtual Tours เที่ยวเสมือนจริง GIS ชุมชนท่องเที่ยว และ Trip ท่องเที่ยว 2. เมนูช้อป OTOP แหล่งรวมสินค้า OTOP ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 3. เมนูสมาชิก OTOP การลงทะเบียนผู้ประกอบการออนไลน์ และสมัครสมาชิก OTOP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ 4. เมนู 108 อาชีพ เพื่อเสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน 5. เมนูกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สมัคร/ตรวจสอบสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 6. เมนูปราชญ์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของปราชญ์ชุมชน 7. เมนูโคกหนองนา ข้อมูลแปลง ครัวเรือนต้นแบบ องค์ความรู้และข่าวสารต่าง ๆ 8. เมนูความรู้ชุมชน แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ในรูปแบบ e – Book 9. เมนูมีทุน รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ซึ่งถือว่าในยุค 4.0 นี้ การเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน หัวใจสำคัญคือ ฐานข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและตรงจุด เข้าถึงประชาชน กลุ่มเป้าหมายในทุกมิติ ในขณะเดียวกันต้องอาศัยความมุ่งมั่นเดินหน้าอย่างจริงจัง โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมผ่านการทำงานเป็นทีมและบูรณาการทุกภาคส่วน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดความผาสุกแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ และกรมการพัฒนาชุมชนมีความเชื่อมั่นว่า พวกเราทุกคนในที่นี้จะร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจงานให้บรรลุเป้าหมาย “สร้างสรรค์ชุมชน สร้างคน สร้างชาติ” ได้อย่างแน่นอน

และการลงพื้นที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรีในครั้งนี้ ได้เยี่ยมชม “บ้านพอเพียง 30 ตารางวา” ที่เป็นพื้นที่ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ โดยใช้พื้นที่ 30 ตารางวา จัดการพื้นที่ให้สามารถปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสานสามารถกินได้ตลอดทั้งปี อาทิ มะละกอ คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะเพรา พริก โหระพา มะเขือ ฟักทอง รวมทั้งยังมีการเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงเป็ด และทำบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนกับมูลนิธิเอ็มโอเอไทย (MOA THAI FOUNDATION) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายความยั่งยืนโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นสมบัติของชาติ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และเป็นประโยชน์ของชาติต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางด้านน้ำ อาหาร และพลังงานตามเป้าหมายความยั่งยืนโลก สร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตบุคคล พร้อมทั้งพัฒนาชุมชนน่าอยู่ทั้งจิตและกาย ด้วยการขยายชุมชนอาหารสุขภาวะและศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมไปถึงการน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาขับเคลื่อนงานให้เป็นที่ประจักษ์ โดยได้จัดทำแปลงสาธิต “บ้านพอเพียงโมเดล 30 ตารางวา” ให้ประชาชนและผู้ที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้และเยี่ยมชมได้