Home PR. News กรมควบคุมโรค รณรงค์วันวันอัมพาตโลก ปี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์วันหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก ปี 2564 “รู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต”

กรมควบคุมโรค รณรงค์วันวันอัมพาตโลก ปี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์วันหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก ปี 2564 “รู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต”

0
กรมควบคุมโรค รณรงค์วันวันอัมพาตโลก ปี  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์วันหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก ปี 2564 “รู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต”

เน้นให้ประชาชนสังเกตอาการตนเอง ตามหลักการ F.A.S.T. หากมีอาการให้รีบไปพบแพทย์ รักษาเร็วจะมีโอกาสหายมาก ผลแทรกซ้อนต่ำ และความพิการน้อยลง


วันนี้ (28 ตุลาคม 2564) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ ในปีที่ผ่านมาทั่วโลกพบมีผู้ป่วย 13.7 ล้านคน โดย 1 ใน 4 มีอายุ 25 ปีขึ้นไป เสียชีวิต 5.5 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 6.7 ล้านคนต่อปี ส่วนประเทศไทยในปี 2562 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 34,728 คน เพศชาย 20,034 คน และเพศหญิง 14,694 คน และองค์การ โรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization : WSO) ได้กำหนดให้วันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปีเป็น“วันหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก (World Stroke Day)” โดยในปี 2564 นี้ ได้จัดโครงการรณรงค์ภายใต้แนวคิด Minutes can save lives: Learn the signs, Say it’s a stroke Save #Precioustime : รู้สัญญาณเตือน โรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต” มุ่งเน้นเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองและเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะทุกนาทีที่เซลล์สมองขาดเลือดจะมีเซลล์สมองตายประมาณล้านเซลล์
ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ แม้ว่าจะไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่อาจทำให้เกิดความพิการในระยะยาว ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดชีวิต ปัจจัยเสี่ยงคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย บริโภคอาหารไม่เหมาะสม สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรคดังกล่าว เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดและเนื้อสมองถูกทำลาย สูญเสียการทำหน้าที่จนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงขอให้ประชาชนสังเกตอาการตนเอง ตามหลักการ F.A.S.T. ดังนี้ F (Face) ใบหน้าชาหรืออ่อนแรง ปากเบี้ยว มุมปากตก ตามัวเห็นภาพซ้อน A (Arm) แขนหรือขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง ยกแขนหรือขาไม่ขึ้น S (Speech) พูดไม่ชัด พูดลำบาก มีปัญหาในการพูด T (Time) ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันทีภายใน 4 ชั่วโมง หากพบอาการข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดหรือโทรสายด่วน 1669 เพื่อจะได้รับการรักษาและฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติมากที่สุด
นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เลิกสูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารรสเค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ รับประทานผักและผลไม้ทุกวัน ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

               ***************************

ข้อมูลจาก : กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
วันที่ 28 ตุลาคม 2564