สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และกองทัพบก ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. ในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีป้องกันประเทศขั้นสูง เพื่อสนับสนุนการใช้งานของกองทัพและภาคพลเรือนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ โดย กองทัพบก ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างขีดความสามารถในภารกิจด้านการป้องกันประเทศของกองทัพบกจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่นับวันจะยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ กองทัพบก จึงได้กำหนดจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2563 โดยมี พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ พลตรี สมบุญ เกตุอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ณ สโมสรทหารบก (วิภาวดี) การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันเทศมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบยานไร้คนขับร่วมกับกองทัพบกให้เป็นไปตามนโยบายของกองทัพบกที่จะพัฒนาไปสู่การเป็น Smart Soldier Strong Army โดยมุ่งเน้นการพัฒนายุทโธปกรณ์และกำลังพลของกองทัพบกให้ทันสมัย มีความแข็งแกร่งทั้งร่างกาย จิตใจ พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบได้อย่างสมบูรณ์ เสริมสร้างขีดความสามารถการร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับรองต้นแบบผลงานวิจัยสำหรับนำมาใช้ในกองทัพบก โดยทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลงแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างองค์ความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ การวิจัยและพัฒนา ข้อมูลทางวิชาการ การประชาสัมพันธ์ จากการร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์ และเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับรองต้นแบบผลงานวิจัยสำหรับนำมาใช้ในกองทัพบก รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนการพัฒนาผลงานทางวิชาการร่วมกัน สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพจากการร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพบก ตอบสนองความต้องการใช้งานตามภารกิจป้องกันประเทศของกองทัพ และดำรงขีดความสามารถในการเตรียมกำลังและใช้กำลังทางบกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันต่อทั้งหน่วยงาน และประโยชน์ต่อภาพรวมของประเทศ ในการขับเคลื่อนนโยบาย S – Curve 11 ส่งเสริมอุตหกรรมป้องกันประเทศ ให้เติบโตและเข้มแข็งลดการนำเข้าจากต่างประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับสังคมด้วยนวัตกรรมกลุ่มเทคโนโลยีระบบยานไร้คนขับ ซึ่งเป็นอีกบทบาทของหนึ่งกระทรวงกลาโหมที่จะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย และท้ายที่สุดก็จะนำมาซึ่งการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ในอนาคตต่อไป

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่า ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กับ กองทัพบก

หลังจากลงนามบันทึกความเข้าใจแล้ว จะมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความมือหรือ MOA ในโครงการย่อย ๆ อีก 3 โครงการได้แก่

  1. โครงการร่วมวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ยุทธวิธี ที่สามารถใช้การปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ทุรกันดาร, อันตราย หรือ ปฏิบัติการที่กำลังพลมีความเสี่ยงสูง เพื่อลดการสูญเสียของกำลังพลจากการรบ และเพื่อความสำเร็จของภารกิจและเสริมอำนาจกำลังรบของหน่วยภาคพื้นดิน เป็นการสร้างเทคโนโลยีทางทหารและนวัตกรรมทางทหารสมัยใหม่ เพื่อให้สามารถสนับสนุนภารกิจของกองทัพบก และเมื่อทำการวิจัยและพัฒนาต้นแบบสำเร็จสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจะส่งมอบให้หน่วยผู้ใช้งาน คือ กรมสรรพาวุธทหารบก
  2. โครงการร่วมวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง (Medium Unmanned Aircraft System) โดยมีเป้าหมายร่วมที่สำคัญ คือ เพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศมีขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาร่วมระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง (Medium Unmanned Aircraft System) นำเข้าทดสอบใช้งาน และเข้ากระบวนการทดสอบรับรองมาตรฐานต่อไป และเมื่อทำการวิจัยและพัฒนาต้นแบบสำเร็จสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจะส่งมอบให้หน่วยผู้ใช้งาน คือ กองพลทหารปืนใหญ่
  3. โครงการร่วมมือวิจัยและพัฒนาระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ (Counter Unmanned Aircraft Systems) เพื่อสร้างความพร้อมรบในการรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้โดรนติดอาวุธหรือวัตถุระเบิดในการโจมตีเป้าหมายที่สำคัญซึ่งจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน และเมื่อทำการวิจัยและพัฒนาต้นแบบสำเร็จสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจะส่งมอบให้หน่วยผู้ใช้งาน คือ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กําหนดแผนการดําเนินงานจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (Defence Technology Institute Unmanned Aircraft Systems Training Centre : DTI-UTC) ตามมาตรฐานสากล ด้วยกลยุทธ์ Solution Provider ที่เน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานด้วยนวัตกรรม หรือการตอบสนองลูกค้าด้วยการสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่า (Cutting Edge) มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย กระบวนการ Competency Based Training โดยให้มีความรู้ (Head) ควบคู่ไปกับความชํานาญ (Hand) และทัศนคติที่ถูกต้อง (Heart) เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีขีดความสามารถในการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับที่เหมาะสมตามภารกิจ และวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

โดยการดำเนินงานร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ร่วมถึงความร่วมมือต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ หน้าที่ พันธกิจตามอำนาจหน้าที่ใหม่ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และเพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ คือ“เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศในภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของกองทัพไทย และพันธมิตรอาเซียน”

เอสซีจี เซรามิกส์ตอกย้ำผู้นำกระเบื้องตกแต่ง คว้ารางวัลความเป็นเลิศด้วยนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและ ESG จาก Thailand Corporate Excellence Awards 2023 

นายนำพล มลิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทน บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) รับมอบ 2 รางวัลดีเด่น สาขาความเป็นเลิศด้านสินค้า-การบริการ Thailand Corporate Excellence Awards 2023  จัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย...

WorldFirstประกาศแผนการเปิดตัวบริการWorld Account ในประเทศไทยและตลาดอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

• ขยายโซลูชันการเงินดิจิทัลอีคอมเมิร์ซสำหรับเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2566 – 2567 ให้สามารถเชื่อมต่อและเติบโตในตลาดอีคอมเมิร์ซระดับโลกได้มากขึ้น ด้วยบริการชำระเงินและบริการทางการเงินข้ามพรมแดนที่ปลอดภัย, รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ • ลูกค้าเอสเอ็มอีในสิงคโปร์ของ WorldFirst รายงานว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงตุลาคมปี 2566 มียอดขายสินค้าออนไลน์รวมต่อเดือน(GMV) สูงขึ้นถึง 70% คลารา ชิ ซีอีโอของ WorldFirst ประกาศแผนการเปิดตัวบริการ World Account ในประเทศไทยและตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุงเทพฯ - 6 ธันวาคม 2566 - WorldFirst แพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลและบริการทางการเงินสำหรับเอสเอ็มอีที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ได้ประกาศแผนการเปิดตัวโซลูชันการเงินดิจิทัลสำหรับอีคอมเมิร์ซในตลาดใหม่ ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2566 และ 2567 โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนผู้ขายออนไลน์ให้เติบโตผ่านบริการชำระเงินและบริการทางการเงินข้ามพรมแดนที่ปลอดภัย รวดเร็ว...

LINE ดูดวง ชวนบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม ได้บุญ พร้อมลดหย่อนภาษีได้

มีผู้กล่าวไว้ว่า สิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ภาษี และความตาย….อย่างหลัง คงเป็นจริงดังว่า แต่สำหรับภาษี ถึงจะเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็หาทางลดหย่อนกันได้นะ และนี่ก็ปลายปีกันแล้ว ใครที่มีรายได้ และหาช่องทางลดหย่อนภาษีอยู่ เชิญทางนี้เลย!! หากคุณเป็นผู้มีรายได้...

ผู้บริโภคไทยให้ความสำคัญต่อการบริการที่ดีเยี่ยมมากกว่าราคาQualtrics เผยให้เห็นถึงแนวโน้มการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในปี 2567

เมื่อ AI กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และมีความสำคัญอย่างมากในการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์, คุณภาพของสินค้าจึงมีความสำคัญมากกว่าราคา บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภค ผลการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ โดย Qualtrics เปิดเผยว่า ในประเทศไทยผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการบริการลูกค้าที่ดีเยี่ยมมากกว่าเรื่องราคา

บริษัท โคเวอร์แมท เซ็น MOU กับ ไดเวอร์ซี่ ไฮยีน (ประเทศไทย) ขยายธุรกิจกลุ่ม Healthcare เสริมทัพกลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ด้านทำความสะอาด ฆ่าเชื้อทางการแพทย์ แบบครบวงจร

บริษัท โคเวอร์แมท จำกัด ผู้นำตลาดด้านอุตสาหกรรมสีเขียวรักษ์โลก และสินค้ากลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบสิ้นเปลือง นำโดย คุณณัฐวุฒิ เลิศรัตน์เดชากุล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการฝ่ายบริหาร (ที่ 3 จากขวา) และคุณ Vikas Mittal (กรรมการผู้จัดการ (Thailand,...

ฮีโน่ รับมอบรางวัล BUSINESS+ PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2023“ด้านยานยนต์ ประเภทรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ HINO MY23”

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มิสเตอร์ เคน อิวาโมโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด รับมอบรางวัล Business+ Product of...